วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง
หรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะ
สงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่
กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัด
เป็นสังฆทานได้
ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้า
กฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น
คำกล่าวถวายสังฆทาน
ตั้งนะโมสามจบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุ สังโฆ อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ
อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขายฯ
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์ จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ


ขั้นตอนการถวายสังฆทาน

1. จัดเตรียมของถวาย
2. เมื่อไปถึงวัดให้แจ้งว่า มาเพื่อถวายสังฆทาน ทางวัดจะให้ตัวแทนสงฆ์มารับสังฆทาน อาจมีรูปเดียวหรือหลายรูปก็ได้

3. ผู้ถวายจุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ เสร็จแล้วกราบ (พระพุทธรูป) แบบเบญจางคประดิษฐ์

4. ผู้ถวายนั่งหน้าภิกษุ(ผู้แทนสงฆ์)

5. ผู้ถวายกล่าวคำอาราธนาศีล 5 พร้อมๆ กัน

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

6. ผู้แทนสงฆ์กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาค 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ 

7. ผู้แทนสงฆ์ กล่าวไตรสรณคมน์ ให้ผู้ถวายกล่าวตาม

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

8. ผู้แทนสงฆ์ กล่าวคำสมาทานศีล 5 ทีละข้อ ให้ผู้ถวายกล่าวตามเมื่อจบแต่ละข้อ

ข้อ 1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

9. ผู้แทนสงฆ์กล่าวอานิสงส์ของศีล ผู้ถวายไม่ต้องว่าตาม

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะ สัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
เมื่อผู้แทนสงฆ์กล่าวจบ ผู้ถวายพูดพร้อมกันว่า “ สาธุ ”

10 ผู้ถวาย กล่าวคำถวายโดยเริ่มที่ นะโม 3 จบ พร้อมๆกัน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ครบ 3 จบ แล้วกล่าวคำถวาย หนังสือธรรมะแก่สงฆ์ ดังนี้ (ให้กล่าวทั้งบาลี และคำถวายเป็นภาษาไทยด้วย)

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

11. ผู้ถวายประเคนของที่นำมาให้ผู้แทนสงฆ์
- ยกของถวายอย่างนอบน้อม (และใช้ทั้งสองมือประเคน)
- เข้าไปถวายในระยะใกล้พอที่จะยื่นของถึงมือพระ
- หากผู้ถวายเป็นชาย ผู้แทนสงฆ์รับของจากมือผู้ถวายได้โดยตรง แต่ถ้าผู้ถวายเป็นหญิง ผู้ถวายต้องประเคนโดยวางบนผ้าที่ปูรับ

12. เมื่อถวายเสร็จให้กรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มสวด “ ยะถา วาริวะหา.......”

ผู้ถวายเริ่มกรวดน้ำโดยเทน้ำให้ไหลต่อเนื่องลงในภาชนะ และทำใจให้แน่วแน่ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลจากการถวายสังฆทานครั้งนี้ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง หรืออาจตั้งใจอุทิศบุญกุศลแบบเฉพาะเจาะจงไปเลยก็ได้ เช่น ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการถวายสังฆทานครั้งนี้แก่มารดาของข้าพเจ้า ฯลฯ
เมื่อพระท่านสวดถึงคำว่า ยะถา อีกครั้ง ให้เทน้ำให้หมด แล้วประนมมือรับพรต่อจนจบ

Cr.http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=oordt&month=10-2007&date=21&group=3&gblog=2


1 ความคิดเห็น: